วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนะนำวิธีทำ-วิธีกินย่านาง สมุนไพรบำบัดโรค

          ย่านาง สมุนไพรแสนคุ้นเคยและคุ้นลิ้น ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสมุนไพรสุดฮิต ที่มีคุณสมบัติปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น และเป็นคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ

          เราอาจจะคุ้นเคยกับย่านางในฐานะที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มความกลมกล่อม ของแกงหน่อไม้และซุปหน่อไม้ ยอดอ่อนของเถาย่านางนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่น ๆ บางคนนำใบและยอดอ่อนใส่ในอ่อมและหมกต่าง ๆ ทางปักษ์ใต้นั้นนิยมใช้ยอดอ่อนใส่ในแกงเลียงและแกงหวาน

          ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีแคลเซียมและวิตามินซีจำพวก เอ, บี 1, บี 2 และ เบต้า-แคโรทีน ค่อนข้างสูง คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้

          วิธีทำ

  1.ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น อาทิ ใบย่านาง 5-20 ใบ, ใบเตย 1-3 ใบ, บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ, หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง- 1 กำมือ, ใบเสลดพังพอน ครึ่ง – 1 กำมือ, ว่านกาบหอย 3-5 ใบถ้าใครสะดวกจะใช้ใบย่านาง เพียงอย่างเดียวหรือใช้หลายอย่างรวมกันก็ได้ค่ะ


  2.ตัดหรือฉีกใบสมุนไพรให้เล็กลง และนำไปโขลกสมุนไพรให้ละเอียด หรือ ขยี้ หรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น (ควรใช้ระยะเวลาไม่นาน 30 วินาที – 1 นาทีก็พอเพื่อให้ผ่านความร้อนน้อยที่สุด คงคุณค่ามากที่สุด)


  3.นำมากรองผ่านกระชอนหรือผ้าขาวบาง


  4.ได้น้ำย่านางแล้ว

          วิธีกิน

          ดื่มน้ำย่านางสด ๆ ครั้งละประมาณครึ่งแก้ววันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งสามารถผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไปเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นก็ได้ค่ะ

          สิ่งสำคัญคือความพอดี หมอเขียวบอกว่า บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม เพราะฉะนั้น จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรควรเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดและดื่มแบบพอดีกับที่ร่างกายเราต้องการ เพราะถ้าเรารู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่าร่างกายบอกว่าพอแล้วนั่นเองค่ะ

          สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า กินยาก เหม็นเขียว หรือรู้สึกไม่สบาย ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำย่านาง หรือนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรือผสมกับน้ำสมุนไพรอื่น ๆ ที่ชอบ เช่น ขมิ้น ขิง ตะไคร้

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติพันท้ายนรสิงห์

                                   ประวัติพันท้ายนรสิงห์
พันท้ายนรสิงห์
 
พันท้ายนรสิงห์ เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง
เขาเป็นนายทหารผู้จงรักภักดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘
หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ สมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะที่สำคัญของพันท้ายนรสิงห์
คือ เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต
ช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของเขานั้นคงจะไม่พ้นการได้รับราชการ
ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ และการเป็นนายท้าย ในครั้งที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘
ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด
ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม
คลองบริเวณนี้มีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่ง
อย่างระมัดระวัง แต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่
หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า
ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี
ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก
ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสีย เขาจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตาม
พระราชประเพณี สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการ
สุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยัน
ขอให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย
เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดิน
และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูป
พันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ตัดศีรษะรูปปั้นดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน
แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารชีวิตตน แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘
จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตาม
พระราชกำหนดกฏหมาย ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์
แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชย
ซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล ผลงานดีเด่นของพันท้ายนรสิงห์ คือ
การที่เขามีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาไว้ซึ่งกฎมลเทียนบาล
ของบ้านเมือง หลังจากที่พันท้ายนรสิงห์ได้ยอมตายเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการ
เดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง จึงสมควรให้มีการขุดคลองให้ลัด
ตัดตรง และลึกกว่าเดิม เมื่อขุดเสร็จจึงได้รับพระราชทานนามว่า "คลองสนามไชย"
ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "คลองมหาชัย" ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิม
ซึ่งเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี
และนี่คือเกียรติประวัติที่ได้รับการยกย่องของพันท้ายนรสิงห์   

สรรพคุณเตยหอม

  

เตยหอม
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ชื่อสามัญ  Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์   Pandanaceae
ชื่ออื่น :   ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ต้นและราก, ใบสด
สรรพคุณ :
  • ต้นและราก 
    -  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • บสด
    -  ตำพอกโรคผิวหนัง
    -  รักษาโรคหืด
    -  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
    -  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  1. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
    ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
  2. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
  3. ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
  4. ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin